ตลท.ใช้เกณฑ์Turnover ratio คัดเลือกหุ้นเข้าSET50/SET100 เหลือ2% ธ.ค.65

เรื่องที่น่าสนใจ

ตลท. เผย ผลเฮียริ่งเห็นด้วยปรับ Turnover ratio คัดเลือกหุ้นเข้าคำนวณSET50/ SET100 เหลือ 2% จากเดิม5% เริ่มใช้ในการคัดเลือกหุ้น รอบปลายปี65 ประกาศผลการคัดเลือกในช่วงเดือนธ.ค.65 และใช้คำนวณดัชนีในช่วงเดือนม.ค. – มิ.ค.66 เป็นต้นไป

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า จากที่ตลท.เปิดรับฟังความเห็น (เฮียริ่ง) เรื่องการปรับปรุงTurnover ratio สำหรับการคัดเลือกหุ้นเข้าดัชนีSET50/ SET100 โดย ใช้หลักเกณฑ์และแนวทางในปัจจุบัน โดยปรับลดระดับ Turnover ratio เริ่มต้นจากเดิมที่ 5% เป็น 2% โดยผู้ให้ความเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เสนอ โดยให้เหตุผล สรุปได้ดังนี้

• การปรับลด Turnover Ratio สอดคล้องกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป และสอดคล้องกับเกณฑ์ของดัชนีต่างประเทศ
• การปรับลด Turnover ratio จะช่วยให้หุ้นขนาดใหญ่ซึ่งเป็นฐานโครงสร้างของตลาดหุ้นไทยมีโอกาสคงอยู่ในดัชนีขณะที่เกณฑ์การคัดเลือกอื่นๆ มีความเหมาะสมอยุ่แล้ว

 

• การปรับลด Turnover ratio จะช่วยให้เกิดเสถียรภาพในระยะยาวของดัชนีมีผลทำให้การเคลื่อนไหวของดัชนีมีเสถียรภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานในต่างประเทศ
• แนวทางดังกล่าวสามารถช่วยลดความผันผวนของตลาดลงบางส่วนจากหุ้นขนาดเล็กที่มีการซื้อขายสูง

ในขณะที่ผู้ให้ความเห็นบางรายไม่เห็นด้วย กับแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เสนอ โดยให้เหตุผล สรุปได้ดังนี้

• การปรับลด Turnover ratio อาจทำให้ดัชนีถูกควบคุมง่ายขึ้นจากกองทุนและนักลงทุนรายใหญ่ และอาจเอื้อ ประโยชน์ให้หุ้นบางกลุ่ม ทำให้หุ้นบางกลุ่มเสียโอกาสและประโยชน์ที่จะได้จากการเป็นหุ้น SET50/SET100

• ไม่เห็นด้วยกับการใช้เกณฑ์ Turnover ratioเนื่องจากสาเหตุที่Turnover ต่ำอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น หุ้น ขนาดใหญ่บางตัวมีราคาต่อหุ้นสูงท าให้นักลงทุนรายย่อยไม่สนใจ, ผู้ลงทุนมักลงทุนระยะยาวในหุ้นใหญ่ที่มี อัตราปันผลสูง, มีหุ้นขนาดกลาง-เล็ก IPO เข้ามามากขึ้นท าให้เม็ดเงินลงทุนจากรายย่อยกระจายออกไปกว้าง มากขึ้น เป็นต้น

• หุ้นบางตัวที่มีTurnover ไม่สูงมากนักแต่มีราคาที่ผันผวนมากอาจเข้ามาอยู่ในดัชนีSET50 ทำให้ดัชนีมีความ ผันผวนสูง

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
• ควรกำหนด Turnover ratio ขั้นต่ำ 1% ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของดัชนีต่างประเทศ
• ควรพิจารณาแนวทางการใช้ free float adjusted ในการคำนวณน้ำหนักหุ้นในดัชนีโดย free float ที่ใช้คำนวณ ควรเป็น free float ที่สามารถสะท้อนการกระจายการถือครองของผู้ลงทุนจริง เพื่อให้ดัชนีสามารถสะท้อนการ เคลื่อนไหวของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้จริง

• ควรเพิ่มเกณฑ์สัดส่วนการถือครองหุ้นของผู้ลงทุนต่างชาติเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก และคำนวณน้ำหนักหุ้นในดัชนีด้วย โดยให้น้ำหนักในดัชนีน้อยส าหรับหุ้นที่มีผู้ลงทุนต่างชาติถือครองมาก เพื่อสะท้อนสัดส่วนของหุ้น ไทยที่ผู้ลงทุนสถาบันสามารถลงทุนได้

• การคัดเลือกหลักทรัพย์เข้าออกของดัชนี ควรยึดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยหลีกเลี่ยงการใช้ดุลยพินิจ

อย่างไรก็ตามจากที่ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางการปรับปรุง Turnover ratio ที่ 2% โดยจะเริ่มใช้ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบในดัชนีของตลท.รอบปลายปี 2565 ซึ่งจะมีการประกาศผลการคัดเลือกในช่วงเดือน ธ.ค. 2565 และใช้ในการคำนวณดัชนีในช่วงม.ค. – มิ.ย. 2566 เป็นต้นไป

สำหรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯจะนำไปศึกษาและพิจารณาความเหมาะสมในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกดัชนีต่อไป และหากมีข้อเสนอที่เกี่ยวกับดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะหารือผู้เกี่ยวข้อง และเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนการปรับปรุงใดๆ